Posted by: chaosinbooks | 23/09/2010

โมฆะ


(บทกวี)                        โมฆะ                                 

       

เราก้าวมาไกลมากจากจุดนั้น       ดุ่มเดินด้นดั้นสู่เป้าหมาย

 หวังยลแสงดาวพราวพราย         ส่องฉายความดีแก่ผู้คน

  คือการศึกษาค่าวิจิตร                สร้างสรรค์ชีวิตผลิตผล

   ชุบชูค่ามนุษย์ปุถุชน                 เพื่อพัฒนาตนพัฒนาใจ

    ให้เหนือกว่าปวงสัตว์เดรัจฉาน     มีจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่

    มีศักดิ์ศรีเลิศล้ำผ่องอำไพ           ห่างไกลอวิชชามายาชีวิต

     แต่การศึกษากลับทำลายคน         สังคมสับสนจนวิกฤติ

     เหมือนเปลวไฟไหม้ลามไปทุกทิศ   โลกทรรศน์เบี้ยวบิดผิดศีลธรรม

      ยิ่งเรียนรู้นับวันเห็นแก่ตัว              เกลือกกลั้วโมหะจิตคิดใฝ่ต่ำ

      ยิ่งเก่งยิ่งฉ้อฉลปนระยำ               พฤติกรรมสำแดงเห็นแจ้งชัด

      การศึกษาเป็นโมฆะมาตลอด        ศาสนาก็ใบ้บอดเงียบสงัด

       คุณธรรมความดีถูกทานทัด           เงินคือตัวชี้วัดความเป็นคน

       คนยังคงหลงเงินตราบ้าอำนาจ         ปริญญาคือกระดาษดูเกลื่อนกล่น

        อนาคตชาติแหลกลาญพิการพิกล      ปฏิรูปอีกกี่หนก็ผิดทาง

         เราก้าวมาไกลมากจากจุดนั้น           แต่ยังไปไม่ถึงฝันอันพราวพร่าง

         นาวารัฐอาจล่มจมอับปาง             การศึกษาไม่ได้สร้างปัญญาคน                                                                             

                                                            เชาว์ศิลป์  จินดาละออง

                            

            ——————————————————————————————————-

สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ : กันยายน  2553

                            


Responses

  1. คอลัมน์ปากกาขนนก โดย สกุล บุณยทัต (Blue-thetre@hotmail.com) สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 29 วันศุกร์ที่ 8 – วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

    “บาง ทีบางครั้งปมเงื่อนของชีวิต…ก็บีบบังคับให้เราต้องหยุด นิ่งอยู่กับซากร่าง ของจิตวิญญาณที่ไม่ยอมคลี่คลายไปจากความทุ กข์เศร้าแห่งความทรงจำ…หลาย ๆ ขณะมันบังเกิดเป็นภาวะที่จำยอมพ่ายแพ้ รอยบาดเจ็บทั้งหลายทั้งปวงอันเกิดแต่ประสบการณ์แห่งชีวิตข้าง ต้นต่างกระหน่ำ โบยตีความถูกผิดดีงาม จนไม่เหลือรูปรอยของความงดงามเอาไว้เลย…ทุกสิ่งทุกอย่างในท ่วงทำนองดัง กล่าวนี้ล้วนดำเนินไปบนวิถีที่ไม่หยุดนิ่ง…ทั้ง รู้ตัวและไม่รู้ตัว เป็นภาวะหลอกหลอนอันสมบูรณ์แบบที่ตกอยู่ภายใต้แห่งอำนาจเหนือ จริงของการรับ รู้…ผ่านการหยั่งเห็นที่ดิ่งลงไปในม่านพรางขอ งความมืดดำ”

    สาระ แห่งชีวิต…อันทบซ้อนโดดเดี่ยวมักเป็นเช่นนี้…มันเหมื อนนัยแห่งความแปลก แยกของตัวตนบนหนทางที่ยากจะตัดสินใจได้ว่า. ..จะก้าวไปข้างไหน…จะถอยไปข้าง หลังหรือต้องจำยอมวนเวียนจมป ลักอยู่กับตัวตนของตนที่มืดมน… “พ่อผู้ไม่อยากเดินทางไปรัสเซีย” รวมเรื่องสั้นคัดสรรของ “ภพ เบญญาภา” …คือที่มาแห่งนัยความหมายอันเจ็บปวดเบื้องต้น…สาระทางควา มรู้สึกของ เรื่องสั้นแต่ละเรื่องที่ถูกสื่อออกมา…ล้วนให้คว ามสำคัญต่อพลังแห่งจิตใต้ สำนึกที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับรูปแบบข องชีวิตและบุคลิกภาพของตัวละครเป็นอย่าง มาก…มันเป็นเหมือนพ ลังแอบแฝงที่ทั้งขับเคลื่อนและผลักดันกลไกแห่งชีวิตให้ ก้าวไป เบื้องหน้าอย่างไม่กลัวเกรงต่ออุปสรรคในบาปเคราะห์ของความชั่ว ร้าย…เรื่องสั้น…ที่ถูกนำมาเป็นชื่อเล่มของรวมเรื่องสั้นเ ล่มนี้ สะท้อนถึงภาพแสดงแห่งปรากฎการณ์อันล้ำลึกดังกล่าว ผ่านผัสสะของลูกชายที่มีความบาดหมางกับพ่อยามที่ทั้งคู่ยังมี ชีวิตอยู่ร่วม กัน…การเป็นคนที่เก็บงำและสะสมอดีตของพ่อลูกถ ่ายทอดผ่านกระเป๋าไม้ใบเก่า ซึ่งเป็นเหมือนภาชนะแห่ง*บห่อของความฝันและความหวังในคืนวัน อันเก่า ก่อน…เมื่อมันได้พลาดพลั้งและเปิดโอกาสให้โมหจริตที ่ตัดไม่ขาดเข้าครอบ งำ…พลังแห่งความชั่วร้ายก็ปรากฎออกมาผ่า นการกระทำต่อผู้ขัดแย้งอย่าง รุนแรงและไม่ใยดี…เป็นความฝังจ ำที่ฝังใจเสียยิ่งกว่าการถูกกัดกินด้วยรอบ บาปแห่งความทุกข์เศ ร้าใด ๆ ในจิตสำนึกของผู้ถูกกระทำ…”วันนั้นพ่อตบหน้าผม พ่อยังจำได้หรือเปล่า…อายุของผมเพิ่งจะสิบสี่ปี มันไม่รุนแรงอะไรหรอกครับ แต่ความเจ็บช้ำมันชำแรกแทรกลงไปในอกได้ถึงใจทีเดียว ผมพยายามไม่ให้พ่อหรือพี่สาวคนไหนเห็นน้ำตา จึงเดินหนีออกจากบ้าน ใจอยากจะเดินไปให้ไกลถึงรัสเซีย…ดินแดนที่พ่อเคยบอกว่าไม่ช อบและตายเสียดี กว่าที่จะต้องไปเหยียบที่นั่น…เพื่อที่พ่อจะ ได้ตามหาผมไม่เจอ…ผมอยากหาย ไปจากชีวิตของพ่อ ทว่าความที่ตอนนั้นผมยังเด็กอยู่มาก…เป็นวัยรุ่นที่ปีกไม่ก ล้าขาไม่แข็ง พอ…สำหรับการคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี…ผมจึงต้องซม ซานกลับเข้าบ้านในวันรุ่ง ขึ้น…”

    ในบทตอนของเนื้อหาดังกล่าวนี้…”ภพ” พยายามที่จะแสดงว่าไม่ว่าจะถูกกดดันและต้องตีบตันอยู่กับทางอ อกของชีวิต เพียงใด ก็ยากที่เราจะหลุดพ้นจากห้วงเหวแห่งการจำยอมไปได้ง่าย ๆ และสำหรับที่ทางบางพื้นที่มันก็ยากเหลือเกินที่เราจะก้าวไป ณ ที่ตรงนั้นได้อย่างมั่นใจในยามที่มีชีวิตอยู่…เพราะอคติและ คำสอนสั่งนานา ประการจากจิตสำนึกของสังคมได้บ่มเพาะให้ความเป็ นชีวิตต้องขลาดกลัวกับ มายาคติที่มองไม่เห็น และถูกอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อเป็นภาพหลอนที่บั่นทอนความกล้าแกร่ งแห่งจิตวิญญาณ เพื่อการสยบยอม…อาจเป็นไปได้ว่าพลังของจิตใต ้สำนึกหากถูกนำมาใช้เพื่อการ รุกรานเนื้อแท้แห่งความเป็นมนุษย ์ มันจะกลายเป็นกรอบเกณฑ์สำคัญที่ทำให้มวลมนุษย์ไม่อาจจะก้าวย่ างไปทางไหนได้ นอกจากการปล่อยให้ตัวตนต้องติดกับอยู่กับคำสอนสั่งที่งมงายเช ิงบีบบังคับ อยู่อย่างนั้น…เรื่องสั้น”กรงแห่งความเดียวดาย” บอกกล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้อย่างน่าขบคิดเกี่ยวกับสัมพันธภาพที ่ถูกกักขังไว้ ร่วมกันระหว่างชีวิตบนความจริงที่แท้…กับวิถี แห่งความเป็นชีวิตที่ดำรง อยู่อย่างแนบเนียนบนพื้นฐานของความจ ริงลวง

    “ในที่สุด…ผมเลือกที่ จะขังตัวเองอยู่แต่ในห้องพักหลังเลิกง าน…หยิบหนังสือเล่มใหม่ ๆ มาอ่านแทนการถือแก้วเหล้า หรือไม่ก็ใช้เวลาก่อนเข้านอนให้หมดไปกับการท่องโลกอินเตอร์เน ็ต ที่มีเรื่องราวน่าสนใจมากมาย…มันเป็นโลกที่เต็มไปด้วยข้อมู ลและผู้คน แต่ถึงอย่างไรนี่ก็ยังเป็นสถานที่แห่งความเดียวดายไม่ต่างไปจ ากโลกอื่น โลกที่เราอาจพูดคุยกับใครก็ได้…ทว่าไม่เคยเข้าถึงหัวใจของค นเหล่านั้นเลย แม้เพียงเศษเสี้ยวหนึ่ง…ทุกคนที่ผ่านเข้ามาทั กทายผมด้วยโปรแกรมสื่อสารออ นไลน์ จึงเป็นเพียงคนแปลกหน้าซึ่งผมแน่ใจว่า…พวกเขาเองก็รู้สึกไม ่แตกต่างไปจาก ผมเลย”

    นี่เป็นเรื่องสั้นที่น่าพินิจพิเคราะห์ถึงรากลึกแห่งความเป็น มนุษย์ซึ่งแสนจะผกผันเรื่องหนึ่ง…ที่เทียบค่าของการดำรงอยู่ใ นส่วนของ “ปัญญาประดิษฐ์” กับมนุษย์ที่แท้จริงเข้าด้วยกัน…บทพิสูจน์ที่ได้รับการเทีย บค่านี้เหมือน จะหาจุดบรรจบอันน่าพอใจแห่งความมีความเป็นได้ไม ่พอ…แต่มันกลับให้ความ กระจ่างชัดว่า…ถึงอย่างไรทั้งมนุษย ์เองและสิ่งที่มนุษย์เฝ้าเพียรพยายาม ที่จะสร้างมันขึ้นมาด้วย การเลียนแบบตามเนื้อแท้ในทุกแง่ทุกมุมแห่งความ รู้สึกนั้น…ต ่างมีผลลัพธ์อันหมายถึงความเดียวดายเหมือนกัน…ความเดียวดาย ที่ถูกกระทำด้วยเงื่อนไขแห่งปัญหาทางอารมณ์และอุบัติการณ์ที่ขา ดดุลยภาพของ การดำรงอยู่แห่งกระบวนการเทคโนโลยีที่ตายตัวเกินไ ป…และต้องพึ่งพากลไกจน เกินไป…แต่เลือดเนื้อของชีวิตอันแท ้จริงไม่ใช่อย่างนั้น…เหตุนี้มันจึง เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ม นุษย์เราในทุกวันนี้มักเอาชีวิตไปผูกมัดอยู่กับ เงื่อนงำที่ไร ้ชีวิตอย่างจริงจัง มันจึงส่งผลต่อมิติของความหมายในคุณค่าที่ไร้คุณค่า…ขาด ๆ เกิน ๆ และไร้ซึ่งเป้าหมายของความสุข…

    ในเรื่องสั้น “แม่…” ซึ่งเป็นเรื่องสั้นที่สื่อสารออกมาอย่างเรียบง่ายและเปิดเผยด ้วยประเด็นแห่ง แรงปรารถนาที่จะออกไปเดินเล่นของตัวละครเอก… ในฉากแห่งชีวิตที่หดหู่เศร้า หมองในโรงพยาบาล…แม่นั่งอยู่บน รถเข็นรอคอยการตรวสอบและเยียวยาชีวิต…นาง ถูกปล่อยให้อยู่กั บความโกลาหลและไร้ระเบียบของวงจรชีวิตที่ป่วยไข้เพียงชั่ว ขณะ หนึ่ง…ที่ลูกชายต้องการจะออกไปเดินเล่นเพื่อหลุดไปจากการรอคอ ย และฉากของความจริงอันเต็มไปด้วยลมหายใจของความทุกข์เศร้า…ช ั่วขณะแห่งการ เดินเล่น เขาได้พบกับบทตอนที่เป็นอาการของชีวิตมากมาย…บนพื้นที่แคบ ๆ และด้วยระยะเวลาไม่ยาวนานนั้น…ในส่วนของนัยแห่งตัวละคร นี่คือเครื่องแสดงถึงการเปิดตาเปิดใจต่อการรับรู้ความคิดและค วามรู้สึกของตน เองอย่างจริงใจ…ด้วยความมีสติผ่านกระบวนการข องเหตุการณ์ที่เป็นทั้งด้าน บวกและด้านลบของชีวิต…เป็นความส ามารถของปุถุชนที่จะจัดการกับความคิดความ รู้สึกร้อยแปดพันประ การที่ต้องเผชิญหน้าโดยความตื่นเต้น กังวลใจ…ตลอดจนความเสียใจ…”เขาเดินเข้ามาหยุดอยู่ตรงหน้า รถเข็น อดยิ้มไม่ได้ที่เห็นแม่…กำลังหลับไม่รู้เรื่องเหมือนเด็ก ๆ ริ้วรอยย่นและรอยตีนกาบาดลึกบนใบหน้าของแม่ดูน่าสัมผัส เขาก้มตัวลงเพื่อเอื้อมมือไปปัดปอยผมสีเทาซึ่งถูกลมพัดปรกหน้ าแม่…จากนั้น ก็เลื่อนมือลงมาจับตรงท่อนแขนและเขย่าเบา ๆ …เงียบ”

    การมีชีวิต อยู่กับปัจจุบัน โดยไม่ผูกมัดตนเองกับประสบการณ์ของอดีตมากจนเกินไป หรือไม่หมกหมุ่นต่อสิ่งที่เป็นอนาคตอย่างตัดไม่ขาด…นับเป็น อีกสาระหนึ่ง ที่ ”ภพ” นำมาแปรค่าเป็นเนื้อหาของงานเขียนที่ค่อนข้างท้าทายในเจตจำนง และสำนึกรับรู้ ระหว่างความจริงของอดีตกับปัจจุบัน…ที่ต่างก ็มีภาวะแห่งเหตุผลของความจำ เป็น..เป็นเครื่องรองรับวิถีคิดอั นตัดไม่ขาดออกจากการยึดโยงที่ดิ่งลึกของ กันและกัน…เรื่องสั ้น…”อย่าเรียกผมว่าวีรบุรุษ” คือเงาร่างแห่งภาพสะท้อนอันชวนผะอืดผะอมและกัดกินหัวใจเป็นอย ่างยิ่ง…

    “ผม เสียใจ…” ผมพูดได้สั้น ๆ แค่นี้…แล้วลุกขึ้นยืนเพื่อหลีกเลี่ยงการสบตากับเขา…ผมคิ ดว่าเขาคงไม่ เข้าใจถึงความจำเป็นของผม จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผมรับปากเด็กหนุ่มคนนี้…จะเกิดอะไรขึ้นถ้ าผมสละเวลาทั้ง หมดเพื่อรับหน้าที่เป็นผู้นำให้แก่ประชาชน…บ างทีผมอาจปลุกเร้าให้คนเหล่า นั้นหลุดพ้นจากสิ่งมอมเมาต่าง ๆ และหันมามองโลกด้วยสายตาของอุดมคติที่เปี่ยมไปด้วยพลัง อีกทั้งงดงามยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมด…เพราะมนุษย์ที่แท้จริงต ้องมีอุดมคติ ทุกวินาทีของชีวิตต้องดำรงอยู่เพื่ออุดมการณ์ และอุดมการณ์ก็คือความสง่างามของปัญญาชน…แต่…ใช่แล้ว ลูกเมียของผมเล่าจะอยู่กันอย่างไร บ้านหลังงามคงถูกธนาคารยึดไปขายทอดตลาด รถยนต์คันใหม่ของผมก็จะมีชะตากรรมเหมือน ๆ กัน จะมีใครมาร่วมรับรู้กับผมหรือว่า ทั้งผมและลูกเมียนั้นก้นบางเกินกว่าจะนั่งรถเมล์โทรม ๆ ได้อีกแล้ว…ผมควรบอกเด็กหนุ่มตามตรงเพื่อที่จะขอความเห็นใจ จากเขา มากกว่า…ได้โปรดเถอะ…ถ้าเราได้พบกันอีกอย่าเรียกผม ว่า…วีรบุรุษอีก เลย!”

    ผมถือว่า…”ชายชราแห่งเมืองโลหะอันว้าเหว่” เป็นเรื่องสั้นสร้างสรรค์ที่มีความหมาย ทั้งด้วยอารมณ์และความคิดที่โดดในรวมเรื่องสั้นเล่มนี้…ควา มรู้สึกที่ได้ รับผ่านฉากแสดงของเรื่องสั้นเรื่องนี้ นับเป็นพื้นฐานแห่งการตัดสินใจที่จะเลือกมี…เลือกเป็น บนวิถีชีวิตหรือวิถีของการกระทำด้วยนัยแห่งสติปัญญาของแต่ละบ ุคคล … บางช่วงตอนภาวะการตัดสินใจดังกล่าวอาจนำมาสู่บุคลิกของความดื ้อรั้นและเต็ม ไปด้วยการหลงตนเอง แต่ในอีกด้านหนึ่งการตัดสินใจก็หมายถึงการรับฟังแนวทางความคิ ดของผู้อื่น กระทั่งการยอมรับกฏเกณฑ์ทางวัฒนธรรมและสังคมมาเป็นข้อมูลประก อบการตัดสินใจ ในเลือกของเรา…บนนัยของความโดดเดี่ยว…การเล ือกและการตัดสินใจเลือก จึงนับเป็นภาวะของความคอขาดบาดตายที่ยากจะควบคุม แต่มันกลับเป็นบททดสอบอันมีค่ายิ่งของทุกคนต่อการมีชีวิตอยู่

    “ผม คิดถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้เมื่อแรกออกเดินทางอีกคร ั้ง ดินแดนแห่งนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลเพียงไหนก็ยังไม่อาจรู้ได้ หนทางข้างหน้าจะโหดร้ายหรือเป็นที่น่ายินดีก็ยังยากจะคาดเดา ผมยอมรับว่าตัวเองกำลังลังเลใจอย่างบอกไม่ถูก”

    …………………………………….

    “ถ้าเจ้าไม่ตกลง ข้าก็ต้องใช้สิ่งนี้สั่งเจ้า” ชายชราพูดเสียงแข็งแล้วลุกขึ้นยืน ในมือถือปืนพกระบอกเดิมชี้ตรงมาที่ร่างของผม…
    “เจ้าต้องเลือกแล้ว…ระหว่างการดำรงอยู่ที่นี่ หรือว่าจากไปเช่นเดียวกับมนุษย์คนอื่น ๆ “

    ……………………………………..

    “หัวใจ ของผมยังคงเต้นสม่ำเสมอเมื่อคราวเหยียดร่างยืนขึ้น ผมยิ้มให้ชายชราอีกครั้ง แล้วหันหลังเดินกลับไปยังที่พัก แม้ว่าจะมีเสียงตะโกนสั่งให้ผมหยุดเดินหลายครั้งก็ตาม ก่อนที่เสียงนั้นจะแผ่วลงจนกลายเป็นเสียงคร่ำครวญ กระทั่งเงียบหายไปในสายลม…ในส่วนลึกของหัวใจ ผมรู้สึกสงสารชายชราผู้ครอบครองเมืองโลหะแห่งนี้….ทว่าก็ไม ่อาจช่วยเหลือ อะไรเขาได้เลย”

    เหตุแห่งการประจันหน้าในส่วนลึกของสิ่งที่เกาะกิน หัวใจระหว่า งโลกแห่งธรรมชาตินิยมกับโลกแห่งวัตถุนิยมเป็นสิ่งที่ยากจะจับ ต้องให้รู้ซึ้งถึงเนื้อแท้แห่งสาระของผู้ครอบครองและเป็นเจ้าขอ งพื้นที่นั้น ๆ…บางทีนี่อาจคือภาพสะท้อนแห่งกลลวงของหลุมพราง ที่หลอกล่อให้มนุษย์ต้องติดตรึงด้วยโซ่ตรวนแห่งความทรงจำที่พ ันธนาการเราไว้ ด้วยความไม่แน่ใจ….”ภพ” ได้แสดงทัศนคติของเขาต่อโลก…ต่อชีวิตและต่อธรรมชาติของมนุษ ย์…ด้วยความ เชื่อแห่งบริบทที่ว่า…มนุษย์มีอิสระและเสรีภา พ…มีธรรมชาติแห่งการใฝ่หา ในแรงปรารถนาต่อข้อประจักษ์ของการ รู้จักตัวตนอันถาวร…แน่นอนว่าทุก ๆ คนย่อมมีความแตกต่างกันตามอัตลักษณ์…แต่ทุกคนก็มีความสามาร ถที่ขับเน้น พลังแห่งการแก้ปัญหาต่าง ๆ อันสับสนวกวนได้ด้วยสำนึกรับผิดชอบอันไม่รู้จบ เป็นเหมือน”บ่วงชีวิต”ที่ผูกร้อยและยึดโยงกันไว้อย่างเจ็บปวด ….ขณะที่ลม หายใจยังไม่สิ้นสุด มนุษย์ย่อมต้องหาทางที่จะไปให้พ้น

    จากหลุมบ่อ ของความวิปโยค แต่ครั้งแล้วครั้งเล่า…พวกเขาก็ได้แต่คิดที่ย่างก้าวพร้อม ๆ กับการหยุดนิ่งอยู่กับที่ด้วยความขลาดกลัว…เป็นความไร้สาระ อันน่าหัวเราะ เยาะของชะตากรรม

    “หลายครั้งที่นางคิดถึงความตาย…ด้วยคิดว่าความ ตายอาจเป็นคำ ตอบสำหรับชีวิตของนาง เลือดที่หลั่งออกมาอาจช่วยชำระล้างความทุกข์ให้หมดไปได้…ลม หายใจที่หยุดลง คงทำให้นางลืมความเจ็บปวดอันยาวนาน แต่นางก็ไม่เคยมีความกล้าหาญพอ”

    ตัว ละครแต่ละตัว…ที่”ภพ”ได้สร้างขึ้น เป็นดั่งตัวแทนแห่งแบบจำลองของชีวิตที่ขาดวิ่น…ความฝันความ หวังของพวกเขา มักถูกสรุปด้วยนัยแห่งความขัดแย้งภายในจิตใจที่ นำไปสู่ความตาย

    ใน ด้านจิตวิญญาณ…พวกเขาได้แต่คิดและคิดเพื่อหมกมุ่นอยู่กับ มัน ภายใต้เงื่อนไขแห่งการดิ้นรนที่จะหลีกหนีไปจากภัยพิบัติในราก ลึกของความเป็น ตัวตน…แต่มันกลับเป็นภาวะของการจำยอมที่น่าโ ศกเศร้า เพราะในเชิงปฏิบัติไม่มีใครที่จะสามารถหนีไปจากเงื่อนงำที่เป ็นตราประทับ อยู่ในหัวใจแห่งชีวิตของใครได้…เราต่างไม่มีควา มกล้าพอที่จะก้าวไปปลด ปล่อยอารมณ์ในการออกไปเดินเล่นเพื่อเหย ียดเย้ยโชคชะตา…พอ ๆ กับที่บางช่วงตอนแห่งความเป็นมายาคติ…ความจริงของชีวิตก็ถู กจับเหวี่ยงไป มาดุจการเล่นซ่อนหาที่ไร้จุดหมายของชายจรจัด… .นี่คือสิ่งที่ถือเป็นกำแพง ประหารของชีวิตที่กักขังเราทุกคนเ อาไว้ด้วยการเล่นหัวของบาปเคราะห์ นี้…เกราะกำบังของชีวิตอั นเนื่องมาแต่สัญชาตญาณถูกทำลายลงอันแล้วอัน เล่า…จนกระทั่ง. …

    “ไอ้ตึ๋งอ่านริมฝีปากของเฮียฟู่เข้าใจเช่น เคย…มันได้แต่ยิ้ มเศร้า…ไม่พยายามแม้แต่จะดิ้นรนหลบหนี ชั่วพริบตาเดียวร่างดำผอมเกร็งของมันก็ถูกอุ้มพ้นขอบหน้าต่าง ”

    ………………………………………

    “ตูม”

    ………………………………………

    “มันรู้สึกได้ถึงความเย็นเฉียบของสายน้ำยามราตรีอันมืดดำและเปล ่าเปลี่ยว…”

    ชีวิต และการจากไปในบั้นปลายแห่งชะตากรรมของตัวละครในเรื่องสั ้น ”ผมแค่จะออกไปเดินเล่น” และ”ครั้งหนึ่งในชีวิตของชายจรจัด” นับเป็นบทสรุปแห่งความอัปยศที่เศร้าหมอง…ในที่สุดเราก็รู้ว ่า…ตัวละครใน ทุกบทตอนของ ”ภพ”คือ ”คนที่ไม่มีชีวิต” ….พวกเขาเต็มใจและพร้อมที่จะถูกกระทำ…พวกเขาต่างพร้อมที่ จะหยุดนิ่งและ ตัดสินใจที่จะตายได้อย่างง่าย ๆ …ไร้เหตุผล ณ ขณะที่พวกเขาคิดจะอยู่รอดและก้าวไปสู่เบื้องหน้าอย่างเฉียบพล ันทันใด…ความ ทบซ้อนในเชิงจิตวิญญาณทั้งหมดนี้นำมาสู่บุคลิก ภาพที่แปลกต่างและอยู่เหนือ ความจริงด้านความหมายที่เป็นสามัญ อย่างสิ้นเชิง

    บางทีนี่อาจ เป็น….”ภาพสะท้อนแห่งภาพสะท้อน” ในตัวตนที่พร่ามัวและจมดิ่งอยู่กับปมปริศนาอันขบไม่แตกของสำน ึกคิด และก็อาจเป็นไปได้ที่ว่ารอยบาดเจ็บของสิ่งที่เลวร้ายทั้งหลาย ทั้งปวง นั้น…คือบาดแผลของการโบยตีศรัทธาที่ว่างเปล่าแห่งตั วตน ในฐานะของความเป็นนักเขียน….ที่”ภพ”ได้กำหนดและได้กำกับเอา ไว้เอง…

    “เรา ไม่สามรถหนีไปไหนได้หรอก…ตราบใดที่โลกของเรายังคงอยู่ก ันด้วยอคติแห่ง เจตนาที่ไร้รัก…ขาดการโอบอุ้ม…และการถ่ายท อดสัมพันธภาพต่อกันด้วยจิตใจ อันงดงาม…มนุษย์จึงเหยียบย่ำอย ู่บนเงาแห่งชะตากรรมของตนเอง…เหยียบย่ำ และนิ่งงันอยู่อย่าง นั้นจนไร้สติ…อย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า”

    “พ่อผู้ ไม่อยากเดินทางไปรัสเซีย”…ให้ผัสสะแห่งการรับรู้ที่ ค่อนข้างจะจริงจัง …ผู้เขียนเขียนงานแต่ละเรื่องด้วยพลังซึ่ งค่อนข้างดิบที่กรีดลึกออกมาจาก โลกแห่งความหมายส่วนตัวด้านใน อย่างสด ๆ ภาวะในมิติแห่งสัญญะต่าง ๆ ล้วนแฝงเร้นไปด้วยความเรียบง่ายที่กระชากเจตจำนงของผู้อ่านให ้โลดทะยานไปบน หนทางแห่งความลี้ลับที่ซ่อนหลืบอยู่ในหลุมลึกขอ งจิตวิญญาณ…มองเห็นความ ตั้งใจในการเขียนของผู้เขียนได้เป็น อย่างมาก ทั้งด้วยกระบวนการของภาษาสื่อสาร…กระบวนวิธีคิดที่สอดสลับก ันไปอย่างซับ ซ้อนและมีชั้นเชิง รวมทั้งการจัดวางภาพแสดงในแต่ละฉากของทุก ๆ บทตอนที่เต็มไปด้วยความพยายามของการนำเสนอความหมายที่ต้องตีค วาม…การทำงาน ที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขของกระบวนวิธีต่าง ๆ นี่แหละ ! ….ครั้นเมื่อนำมารวมเข้าด้วยกันแล้ว….มันกลับส่งผลให้รู้ สึกสัมผัสถึง การปรุงแต่งที่จะอธิบายความต่าง ๆ ด้วยรูปรอยที่เป็นเหมือนการประดิษฐ์…ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามัน งดงาม…แต่มัน ก็ไขว้สลับอยู่บนความรกเรื้อด้วยเช่นกัน…เหต ุนี้…เนื้อในแห่งสาระ เนื้อหาส่วนใหญ่จึงจมหายไปกับอาการทาง อารมณ์ที่ไม่ปะติดปะต่อนี้…ซึ่งสุด ท้ายก็ต้องจบลงด้วยการเค ลื่อนขยายและปรับภาพแสดงทุกภาพแสดง ให้สอดคล้องกับห้วงแห่งสำนึกคิดทีละน้อย ๆ เพื่อการก่อเกิดดุลยภาพแห่งการรับรู้….ที่หนักแน่นและเป็นผ ลึกแห่งความมี ความเป็นในตัวตนแห่งความเข้าใจที่แท้…แต่ถึงก ระนั้น…รวมเรื่องสั้นเล่ม นี้….ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะมองข้ามผ ่านไปได้…มันคือสิ่งที่ต้องมองเห็นและ เรียนรู้เพื่อก้าวไปส ู่”ส่วนแห่งความสุข” ผ่านข้ามหุบเหวแห่งความเศร้าโศกและชิงชังในชีวิตส่วนตน ผ่านข้ามความเคียดแค้นสับสนแม้หัวใจจะร้องไห้…แต่”ภพ เบญญาภา”ก็ยืนยันถึงสัจธรรมในข้อหนึ่งว่า….แท้จริง ! ณ ปัจจุบัน…ผู้คนมักจะบอกรักกันก็ต่อเมื่อมีผลประโยชน์แลกเปล ี่ยนต่อกันเท่า นั้น และแม้ชีวิตจะดับสูญและไม่มีที่เหยียบยืนอยู่บนโลกนี้แล้ว… เราทุกคนก็ สมควรที่จะต้องทิ้งร่องรอยของความรักเอาไว้แก่โลก. …ไม่ว่าจะด้วยภาวะแห่ง การประดิษฐ์ หรือด้วยภาวะแห่งความเป็นจริงที่แท้จริงก็ตาม…

    เหตุนี้…การรับรุ้ถึงการมีอยู่ของความรักจึงไม่จำเป็นต้องใช้ หัวใจที่เป็นก้อนเนื้อก็ได้….เพราะความรักเกิดจากใจที่เป็นนา มธรรม

    “พ่อ ของผมเป็นนักเดินทาง ประเทศแรกที่พ่อไปเยือนคือญี่ปุ่น…ตอนนั้นพ่อกำลังหนุ่มฟ้อ …เรี่ยวแรงดี มาก จากนั้นพ่อก็ตะลุยไปทั่ว ทั้งสิงคโปร์ พม่า เวียดนาม จีน อินเดีย อียิปต์ สเปน ฝรั่งเศส อเมริกา เปรู แอฟริกาใต้ ฟิจิ ออสเตรเลีย…พ่อผ่านมาแล้วทั่วโลก…มีเพียงประเทศเดียวที่พ ่อไม่คิดจะไป นั่นคือ…รัสเซีย…”

    …………………………

    “นั่นสินะ! ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น???”


ใส่ความเห็น

หมวดหมู่